Wed. Jan 22nd, 2025
0 0
Read Time:6 Minute, 12 Second

หากถามบรรดาขาช้อปออนไลน์ทุกวันนี้ ว่าตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยเหตุผลอะไรบ้าง เชื่อว่าเหตุผลหนึ่งก็อาจเป็นเรื่องของโปรโมชันลดแลกแจกแถมบนแอปพลิเคชันต่าง ๆ

แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่มาแรงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะบนแลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงดังอย่าง TikTok คือการที่นักช้อป “โดนตก” จากบรรดาครีเอเตอร์และ TikToker ที่ทำคอนเทนต์แบบ “Shoppertainment” หรือเนื้อหาความบันเทิงที่สามารถทำให้ผู้ชมตัดสินใจซื้อสินค้าได้

ธุรการ HR บัญชี มาแรงอันดับหนึ่งจ้างงานปี 66 ส่วนเลิกจ้าง ตำแหน่งการขาย-พัฒนาธุรกิจ

บอร์ดค่าจ้าง เคาะ 10 จังหวัด ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบ 2

"พีระพันธุ์" มั่นใจ ค่าไฟเดือน พ.ค.-ส.ค. 67 ไม่สูงกว่าหน่วยละ 4.18 บาท

พูดง่าย ๆ ก็คือ ผู้บริโภคมักให้ความสนใจกับสินค้าที่มีครีเอเตอร์หรือผู้ใช้จริงมารีวิว โดยนำเสนอแบบใส่ลีลา หรือเอกลักษณ์ หรือใส่ความจริงใจลงไป จนสามารถดึงดูดผู้บริโภคและนำไปสู่การปิดการขายได้ในที่สุด

ข้อมูลล่าสุดจาก TikTok และ Accenture Song บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและผู้ให้บริการด้านดิจิทัล-ไอที ยิ่งตอกย้ำกระแสการเติบโตของเทรนด์ดังกล่าว

พวกเขาได้สำรวจพฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ไทย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย และพบว่า ผู้บริโภคในปัจจุบันมีพฤติกรรมหลายอย่างเปลี่ยนไป ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้การขายแบบ Shoppertainment เติบโตมากขึ้น

คุณชลธิชา งามกมลเลิศ Head of Client Partnership ของ TikTok บอกว่า ภาพรวมคอนเทนต์ใน TikTok ตอนนี้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนวิดีโอมักต้องมีภาพสวย ต้องตัดต่อดี แต่ปัจจุบันมีความสมจริงมากขึ้น มีความเรียบง่ายมากขึ้น เนื้อหาและการพูดจาของครีเอเตอร์เองก็เรียบง่าย ทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิด เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย

นอกจากนี้ ความสนใจของผู้บริโภคยังเปลี่ยนไป โดยมีระยะเวลาในการจดจ่อกับเนื้อหาสั้นลง ถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่าย ส่งผลให้ผู้บริโภค 50% เห็นคอนเทนต์ของแบรนด์แล้วไม่สนใจ และ 26% ยังกังขาในแบรนด์ด้วยคำพูดจาก เว็บสล็อตแมชชีน

นั่นทำให้ผู้บริโภคแสดงความชื่นชอบต่อคอนเทนต์ที่ไม่เน้นการขายสูงถึง 79% นอกจากนี้ยังให้ความสนใจกับ “ความเชื่อมโยงทางอารมณ์” กับแบรนด์ต่าง ๆ เป็นพิเศษ มากกว่าที่จะสนใจเรื่องของปัจจัยเชิงผลประโยชน์ เช่น โปรโมชัน

ผลสำรวจพบว่า ผู้บริโภคต้องการคอนเทนต์เชิงอารมณ์มากขึ้น โดย 82% บอกว่าจะเกิดความภักดีต่อแบรนด์จากปัจจัยทางอารมณ์มากกว่า

คุณชลธิชาบอกว่า ความต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคทุกวันนี้มีปัจจัยอยู่ 6 ประการหลัก ๆ แบ่งเป็นปัจจัยเชิงประโยชน์ (Functional) กับปัจจัยเชิงอารมณ์ (Emotional)

ปัจจัยเชิงประโยชน์ประกอบด้วย

  1. Validation – การซื้อของใหม่ของดี เพราะเชื่อว่าเป็นประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด
  2. Improvement – ซื้อสินค้าเวอร์ชันอัปเกรดหรือที่ดีขึ้นจากผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยซื้อ
  3. Convenience – ซื้อสินค้าที่ซื้อได้ง่าย สะดวก มีการจัดส่งที่น่าเชื่อถือ

ส่วนปัจจัยเชิงอารมณ์ประกอบด้วย

  1. Recommendation – มีคนแนะนำว่าให้ซื้อ ทั้งคนใกล้ชิดและอินฟลูเอนเซอร์ที่เชื่อถือ
  2. Inspiration – อยากเปลี่ยนแปลง อยากลองสิ่งใหม่ ได้รับแรงบันดาลจากเทรนด์และกระแสต่าง ๆ
  3. Indulgence – ซื้อเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองโดยเฉพาะ สปอยล์ตัวเอง ซื้อแล้วรู้สึกดี

ซึ่งคุณชลธิชาบอกว่า ปัจจัยทางอารมณ์ขณะนี้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค

“วันนี้มันเป็น Age of Content (ยุคของคอนเทนต์) แล้ว ถ้าใครมีคอนเทนต์ดีก็อาจกลายเป็นคนดังได้ในชั่วข้ามคืน เป็นการเปิดโอกาสให้เหล่าครีเอเตอร์ต่อยอดในทางธุรกิจได้” คุณชลธิชากล่าว

เธอเสริมว่า การขายสินค้าออนไลน์ยังมีอนาคต และปี 2024 นี้คาดว่าการแข่งขันจะรุนแรงด้วย หลายแบรนด์เริ่มก้าวเข้ามาในสนามนี้ โดยบางแบรนด์ทำได้ดีมาก

ตัวอย่างเช่น เครื่องสำอางแบรนด์หนึ่ง ทราบพฤติกรรมของลูกค้าดีว่า คนที่จะซื้อลิปสติกมักต้องการลองสี ต้องการเทสต์สินค้าเอง แต่คนที่ซื้อออนไลน์จะทำอย่างไร ก็ใช้ฟิลเตอร์ที่ทำให้เห็นว่า ลิปสติกแต่ละสีเมื่อทาแล้วจะออกมาเป็นอย่างไร ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้แม้นอนอยู่ที่บ้าน

คุณชลธิชายืนยันว่า ปัจจุบัน Shoppertainment เป็นโอกาสของทุกธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่

ด้าน คุณสุนาถ ธนสารอักษร Managing Director จาก Accenture Song ประเทศไทย บอกว่า ในปัจจุบันมี 3 การเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เรียกง่าย ๆ ว่า 3C คือ

Consider – การพิจารณาซื้อสินค้าเปลี่ยนจากการซื้ออย่างเร่งด่วน (Impulsive Decision) เมื่อเห็นโปรโมชัน เป็นการซื้อตามสัญชาตญาณ (Intuitive Decision) หรือการซื้อหลังจากได้เห็นคอนเทนต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสินค้าใด ๆ โดยผลสำรวจภายในประเทศไทยเผยว่าผู้บริโภคกว่า 88% ได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยคอนเทนต์ที่ไม่มีการส่งเสริมการขาย

“เมื่อก่อนผู้บริโภคจะพิจารณาสินค้าจากโปรโมชัน แต่เดี๋ยวนี้ 88% ไม่ได้สนใจโปรโมชันแล้ว แต่สนใจคอนเทนต์มากกว่า มีแค่ 21% ที่ยังสนใจโปรโมชัน” คุณสุนาถกล่าว

Consume – ผู้บริโภคต้องการ Effortless Browse-to-Buy หรือการดูเนื้อหาแล้วสามารถซื้อสินค้าได้เลย โดย 93% คาดหวังว่า ภายใน 1-2 ปีข้างหน้านี้ จะสามารถดูคอนเทนต์แล้วเลือกสินค้าลงตะกร้าได้เลย 89% ต้องการคอนเทนต์ที่ได้ทั้งข้อมูลและความสนุก และ 80% อยากให้มีการเสนอข้อมูลครบจบในที่เดียวไม่ต้องเปลี่ยนหน้าหรือเปลี่ยนแอปฯ ไปมา

Connect – เมื่อมีคนหนึ่งใช้สินค้า มักจะมีคนอื่น ๆ ที่สนใจอยากใช้ตาม เกิดเป็นชุมชนหรือคอมมูนิตีของผู้ใช้สินค้านั้น ๆ และปัจจุบัน 60% ของนักช้อปออนไลน์ได้รับอิทธิพลจากผู้ใช้งานคนอื่นที่ไม่ใช่แบรนด์มากกว่าแบรนด์ มีเพียง 11% เท่านั้นที่ได้รับอิทธิพลการตัดสินใจจากแบรนด์โดยตรง

การเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคทั้งหมดที่กล่าวมา จึงบ่งชี้ถึงโอกาสของการเสนอขายสินค้าแบบ Shoppertainment ซึ่งเป็นโอกาสของทั้งแบรนด์ที่ต้องการขายสินค้าและครีเอเตอร์ที่ต้องการรายได้จากการรีวิวสินค้า

รายงานของ TikTok และ Accenture ระบุว่า ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีโอกาสสร้างรายได้ถึง 1.24 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 4.4 แสนล้านบาท) จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 39.6 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2568

นอกจากนี้ คาดว่าภายในปี 2568 เทรนด์ Shoppertainment จะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ โดยคุณชลธิชาบอกว่า แม้แต่ภูมิภาคยุโรปเองก็เริ่มให้ความสนใจกับเทรนด์นี้แล้ว

ความสำเร็จของ Shoppertainment สะท้อนผ่านการใช้แฮชแท็กระดับโลกอย่าง #TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดผู้เข้าชมมากกว่า 7 หมื่นล้านครั้ง และแฮชแท็กภายในประเทศไทยอย่าง #TikTokป้ายยา ที่มียอดเข้าชมสูงถึง 6 พันล้านครั้ง บ่งชี้ถึงอิทธิพลที่คล้ายคลึงกันต่อพฤติกรรมการซื้อภายในภูมิภาคหรือตลาดโลก

ผลบอลเอฟเอ คัพ รอบ 5 แมนซิตี้ ถล่ม ลูตัน 6-2 ลิ่วรอบ 8 ทีม

ผลจับสลากเอฟเอ คัพ รอบ 8 ทีม ลิเวอร์พูล ดวล แมนยู ศึกแดงเดือด

หลังฉากชีวิต "บิ๊กโจ๊ก" ตายแล้วฟื้น เส้นใหญ่จริงไหม ?

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin